กระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model)

ชื่อผลงาน รายงานผลการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model)

ผู้รายงาน นางฐาวนาตย์ ร่วมพันธ์

ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างและหาคุณภาพของคู่มือการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model) 2. เพื่อศึกษาผลการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบ พีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model) โดยพิจารณาจาก
2.1 ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2 ความสามารถของครูในการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model) และ 2.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย
กระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model)

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ใน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ที่มีการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา เครือข่ายควนขนุนหานโพธิ์ จำนวน 36 คน ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) คู่มือการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์(PFDER Model) 2) แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบนิเทศการจัดการเรียนการสอนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model) 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (T-Test)

ผลการศึกษาพบว่า 1) คู่มือการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model) มีคุณภาพความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก (x bar = 4.42 ,S.D.= 0.18) 2) ผลการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model) 2.1 ความรู้ความเข้าใจของครูในการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบก่อนและหลังให้ความรู้ของครูมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 16.89 คะแนน และ 25.44 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังให้ความรู้ของครู พบว่า คะแนนสอบหลังให้ความรู้ของครูสูงกว่าก่อนให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ความสามารถของครูในการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model) ครูกลุ่มเป้าหมายมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x bar = 3.98, S.D.= 0.66) 2.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการนิเทศแบบพีเอฟดีอีอาร์ (PFDER Model) ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x bar = 4.43, S.D.= 0.69)


ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาและการแก้ไข (Problems and solutions : P) กระตุ้นให้ครูสะท้อนปัญหา สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็น และแนวทางการแก้ไขเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นำเสนอผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลระดับเขตพื้นที่การศึกษา

รายมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ภาพรวมระดับโรงเรียน

ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการนิเทศ (Formation plan : F) นำผลจากการวิเคราะห์ปัญหา

สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็น และแนวทางการแก้ไขมาจัดลำดับความสำคัญ สร้างเครื่องมือ คลังข้อสอบ วิเคราะห์ข้อสอบ O-NET ย้อนหลังและรวบรวมรายกลุ่มสาระ/รายมาตรฐาน/รายตัวชี้วัดของข้อสอบทุก ๆ ปี มารวบรวมไว้เป็นชุด

ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการ (Doing : D) ประเด็นย่อย 3.1 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing : I) จัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการ (Doing : D) ประเด็นย่อย 3.2 นิเทศแบบโค้ช (Coaching : C)

เยี่ยมชั้นเรียน สังเกตการจัดการเรียนการสอน กระตุ้นให้ครูแสดงความรู้และประสบการณ์เดิม

ของตนเองแล้ว ให้คำชี้แนะที่เหมาะสม ส่งเสริม สนับสนุนให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผ่านช่องทาง Line, Facebook หรืออื่น ๆ

ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการนิเทศ ติดตาม (Evaluating : E) การดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูกลุ่มเป้าหมายตามแบบนิเทศ ให้ข้อเสนอแนะหาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาสร้างขวัญกำลังใจ ยกย่องเชิดชูเกียรติ

ขั้นตอนที่ 5 รายงานผล (Report : R) สรุปผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของ

ครูกลุ่มเป้าหมาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอน